วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 นายไสว สารีบท ศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ การจัดทำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยมีวาระการประชุม ดังนี้
–ปีงบประมาณ 2563 จังหวัดสระแก้ว ได้จัดสรรงบประมาณ (งบยุทธศาสตร์จังหวัด) ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว เพื่อดำเนินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 1,519,100.- บาท วัตถุประสงค์เพื่อ
- เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เพื่อให้สถานศึกษาในจังหวัดสระแก้ว จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ จัดการเรียน ในแหล่งเรียนรู้ ตามโครงการพระราชดำริ
ฝึกทักษะโครงงานอาชีพและสร้างเสริมค่านิยมหลักของคนไทย ให้นักเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในการดำรงชีวิต สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และเพื่อจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ฯ - เป้าหมายเพื่อให้สถานศึกษาในจังหวัดสระแก้ว ได้สมัครเป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 40 %
โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 งบประมาณ 100,000.- บาท จัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจและนิเทศ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา จัดทำหลักสูตรในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร และจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
(ประชุม 2 รุ่น : 1) สถานศึกษาในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว เขาฉกรรจ์ วังน้ำเย็น คลองหาด วังสมบูรณ์
2) อำเภอวัฒนานคร อรัญประเทศ โคกสูง ตาพระยา)
กิจกรรมที่ 2 งบประมาณ 900,000.- บาท ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ (สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน : จัดหา รวบรวมพรรณไม้ประจำรัชกาลที่ 10 และพรรณไม้ท้องถิ่น จัดทำป้ายชื่อพื้นเมือง หมายเลขประจำต้น เก็บและทำตัวอย่างพรรณไม้
ทำทะเบียนพรรณไม้ ค้นคว้าข้อมูลการใช้ประโยชน์จากเอกสาร ข้อมูลพื้นบ้าน ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ศึกษาการปลูกเลี้ยงและการขยายพันธุ์ การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ศึกษาโครงสร้างภายในของพืช) และโครงงานฝึกทักษะอาชีพ ตามแนวพระราชดำริ ของนักเรียน (จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ 9 อำเภอๆละ 1 แห่ง)
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการจดบันทึกการทำความดี “ในการอนุรักษ์ทรัพยากร ” ของนักเรียน และการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทำความดีเป็นประโยชน์ต่อสังคม (มอบเกียรติบัตรให้นักเรียนนักศึกษา เยาวชน ประชาชน ผู้ทำความดี เป็นประโยชน์ต่อสังคมในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช)
กิจกรรมที่ 4 งบประมาณ 519,100.- บาท พัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนต้นแบบ เพื่อสร้างคนดีสู่สังคม : สร้างฐานการเรียนรู้ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดังนี้ ฐานการเรียนรู้การขยายพันธุ์พืช ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ด ,ฐานการเรียนรู้แปรรูปสมุนไพร, ฐานการเรียนรู้น้ำส้มควันไม้, ฐานการเรียนรู้ปุ๋ยชีวภาพ และจัดอบรมด้านทักษะอาชีพให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน
กิจกรรมที่ 5 จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ 9 อำเภอๆละ 1 แห่ง งบประมาณแห่งละ 100,000.- บาท สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว ได้พิจารณาสถานศึกษาเป้าหมาย ดังนี้
- อำเภอเมืองสระแก้ว โรงเรียนบ้านทุ่งหินโคน
- อำเภอเขาฉกรรจ์ โรงเรียนบ้านพระเพลิง
- อำเภอวังน้ำเย็น โรงเรียนบ้านมหาเจริญ
- อำเภอวังสมบูรณ์ โรงเรียนบ้านวังใหม่
- อำเภอคลองหาด โรงเรียนบ้านเขาดิน
- อำเภอวัฒนานคร โรงเรียนช่องกุ่มวิทยา
- อำเภออรัญประเทศ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว
- อำเภอโคกสูง โรงเรียนทัพพระยาพิทยา
- อำเภอตาพระยา โรงเรียนบ้านโคกไพล
และกิจกรรมที่ 4 พัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนต้นแบบ เพื่อสร้างคนดีสู่สังคม จำนวน 519,100-.บาท
ได้แก่ โรงเรียนวังไพรวิทยาคม อำเภอวังสมบูรณ์ (เป็นโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา)
ในปีงบประมาณ 2562 โรงเรียนอรัญประเทศ ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินกิจกรรม จำนวน 103,000.- บาท นำเสนอการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานศึกษาที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
โครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นโครงการสนองพระราชกระแส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ “ทำอย่างไรให้ชุมชนให้ชุมชน โดยเฉพาะนักเรียนและประชาชนได้มีส่วนร่วม ช่วยในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพันธุ์นั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป” ทั้งนี้สามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียนและชุมชน จัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชน สามารถถ่ายทอดสู่การอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่นของตน สอดคล้องเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สืบสานงานตามพระราชดำริฯ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อ
องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมสพันธุ์ไม้นำเข้าปลูกในโรงเรียน
องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลต่าง ๆ
องค์ประกอบที่ 4 การเขียนรายงาน
องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
รุ่งตะวัน โรจนธรธราวัฒน์ รายงาน